คราบน้ำมันในทะเลมีที่มาจากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น อุบัติเหตุเรือชนกัน อุบัติเหตุจากการขนถ่ายน้ำมันในทะเล การลักลอบทิ้ง หรือ แม้กระทั่งมาจากการรั่วไหลของอุตสาหกรรมแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล ผลที่เกิดขึ้นจากสาเหตุเหล่านี้คือก่อให้เกิดมลพิษทางทะเลที่ยากต่อการขจัด เนื่องจากคราบน้ำมันจะไหลกระจายไปได้ในระยะทางไกลตามทิศทางของลมและกระแสน้ำ และไปสะสมอยู่ในระบบนิเวศน์ต่างๆ เราจึงควรศึกษาวิธีการขจัดคราบน้ำมันหลังจากเกิดเหตุในกรณีต่างๆ โดยมีแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันในระดับชาติ ซึ่งกล่าวถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและวิธีการ ขั้นตอนในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล รวมทั้งวิธีการ สารเคมีที่ใช้ในการขจัดคราบน้ำมันในทะเล เพื่อผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ประสบเหตุได้เข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในระหว่างการขนถ่ายน้ำมันที่บริเวณอ่าวพร้าว

จากเหตุการณ์ที่น้ำมันดิบจากท่อส่งน้ำมันรั่วไหล สู่ท้องทะเล จ.ระยอง ใกล้กับเกาะเสม็ด เมื่อเร็ว ๆ นี้ จนคราบ น้ำมันได้กระจายตามคลื่นน้ำเข้าสู่ฝั่งบริเวณอ่าวพร้าวของเกาะเสม็ด ได้สร้างความ ตื่นตระหนกให้กับนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการที่พักโรงแรม ร้านอาหาร บนอ่าวพร้าว และชาวบ้านที่มีอาชีพประมงแถบนั้นไม่น้อย
ทั้งนี้ยังไม่นับผลกระทบในระยะยาวต่อระบบนิเวศทางทะเล ทั้งบนบกบริเวณ ชายหาด ในน้ำ และใต้น้ำ ซึ่งมีสัตว์ทะเลอย่างกุ้ง หอย ปู ปลา และปะการังที่ต้องเฝ้า ระวังกันต่อไป แล้วเราจะมีวิธีกำจัดคราบน้ำมันในน้ำได้อย่างไรบ้าง มาดูกัน
10 วิธีกำจัดคราบน้ำมันในทะเล
1. ใช้ทุ่นกั้นน้ำมัน
เป็นวิธีที่มาตรฐานที่สุดทั้งนี้เพื่อไม่ให้น้ำมันแพร่กระจาย ไปเป็นวงกว้าง ก่อนจะใช้เรือกวาดน้ำมัน (หรือดูดน้ำมัน) จัดการขั้นต่อไป วิธีนี้ขึ้นกับสภาพอากาศและน้ำทะเลเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังขึ้นกับลักษณะ ของน้ำมันดิบที่รั่วไหลด้วยที่อาจจะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของเรือได้ด้วย
ดูผลิตภัณฑ์ ทุ่นกักน้ำมัน ของ GA2007 คลิก !
2. ใช้เครื่องจักรหรือใช้แรงงาน
เป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดโดยเป็นการ ทำความสะอาดตรงที่เกิดเหตุ แม้จะเป็นวิธีที่กินเวลามาก แต่นิยมใช้เพราะ สามารถใช้แรงงานที่ไม่ต้องผ่านการฝึกฝนมากนัก แต่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน ตัวอย่างเหมาะสม เครื่องมือหนักอาจทำลายพื้นผิวหน้าบริเวณนั้นมากเช่นกัน

3. การใช้วัสดุดูดซับน้ำมัน
วิธีนี้มักใช้กับพื้นที่ซึ่งน้ำมันรั่วไหลไม่มากนัก หรือไม่ ก็ใช้ในขั้นตอนสุดท้ายที่เหลือน้ำมันไม่มากแล้ว วัสดุที่ใช้มีแตกต่างกันไป
- สารอินทรีย์ เช่น ฟาง หญ้าแห้ง ขี้เลื่อย ขนนก ดูดซับได้ราว 3-15 เท่า ของน้ำหนัก และมักจมตัวลงทำให้เก็บยาก
- สารอนินทรีย์ เช่น ดินเหนียว หรือเถ้าภูเขาไฟ ดูดซับได้ราว 4-20 เท่า ของน้ำหนัก แต่มีปัญหาแบบเดียวกับสารอินทรีย์ และมักใช้กับน้ำมันที่ ลอยอยู่ผิวหน้าไม่ได้
- สารสังเคราะห์ มีคุณสมบัติคล้ายพลาสติก กลุ่มนี้ดูดซับได้ถึง 70 เท่า ของน้ำหนัก แต่มีปัญหาคือ ภายหลังดูดซับน้ำมันแล้ว ต้องเคลื่อนย้ายวัสดุ พวกนี้ไปทำลายต่อ
4. การเผาทำลายเพื่อลดปริมาณน้ำมันดิบ
ในกรณีที่น้ำมันรั่วไหลเป็นปริมาณมาก และอาจไหลเข้าชายฝั่งหรือชายหาด อาจจำกัดบริเวณการแพร่กระจายด้วย ทุ่นก่อน แล้วจึงเผาทำลาย วิธีนี้ต้องใช้แต่เนิ่นๆ ทันทีที่ทราบว่ามีน้ำมันดิบ รั่วไหลเท่านั้น แต่ก็มีจุดอ่อนคือทำให้เกิดของเสียในอากาศเป็นปริมาณมากแทน
5. การใช้เจล
สารบางชนิดที่มีลักษณะเป็นเจลจะไปช่วยทำให้น้ำมันดิบที่รั่ว แข็งตัว จนมีลักษณะคล้ายก้อนยางแล้วจึงใช้ตาข่าย เครื่องดูดหรือเครื่อง กวาดเก็บมากำจัดต่อไป ปัญหาใหญ่ของวิธีการนี้คือต้องใช้เจลเป็นจำนวน มากคือ ราว 3 เท่าของน้ำมัน ดังนั้น จึงอาจจะยากที่จะนำไปใช้จริง
6. การใช้เครื่องปั่นแยกน้ำมัน
สำหรับน้ำมันปนเปื้อนที่ต้องจัดการต่อไปนั้น มีเทคโนโลยีและอุปกรณ์หลายรูปแบบที่ใช้แยกน้ำมันออกได้ การใช้เครื่องปั่น แยกน้ำมันก็เป็นวิธีหนึ่ง โดยอาศัยคุณสมบัติของน้ำมันที่มีความหนาแน่นน้อย (เบา) กว่าน้ำเป็นตัวช่วยในการแยก
7. การใช้ขี้ผึ้ง
ดร.โจเซฟ เรสนิค เคยเสนอให้ใช้ PRP/WAPED (Petroleum Remediation Product and Water Pollution Eradication Device) ประกอบด้วยขี้ผึ้งทรงกลมจิ๋ว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25-0.65 ไมครอน ซึ่งภายในบรรจุแบคทีเรียชนิดซูโดโมแนด (pseudomonas) เอาไว้ แบคทีเรีย ดังกล่าวย่อยน้ำมันดิบได้ เขาเสนอให้ใช้วิธีนี้สำหรับการทำความสะอาดใน บริเวณน้ำลึก
8. การใช้จุลินทรีย์
จุลินทรีย์บางชนิดสามารถย่อยสลายน้ำมันดิบได้ วิธีใช้คือ การโปรยหรือฉีดจุลินทรีย์ดังกล่าวลงไปในบริเวณที่มีน้ำมันรั่ว และอาจต้อง ใช้ตัวช่วยอื่นๆ ด้วย เช่น ปุ๋ย ผลสุดท้ายที่ได้คือ คราบน้ำมันมีขนาดโมเลกุล เล็กลงและไม่เป็นพิษ แต่วิธีนี้จะกินเวลามากกว่าวิธีอื่นๆ
9. การใช้สารลดแรงตึงผิว
สารกระจายแรงตึงผิว (surface dispersant) โดยการฉีดพ่นโดยเครื่องบิน เรือ หรือคนงานที่ชายหาด วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่นิยม อนุภาคน้ำมันดิบจะกระจายตัวออก ไม่เกาะเป็นก้อน ไม่ตกเป็น ตะกอน เป็นพิษน้อยลง ก่อนจะถูกย่อยสลายด้วยแบคทีเรียที่กินคราบน้ำมัน ต่อไป ข้อดีของวิธีนี้คือ ใช้ได้ในวงกว้าง แต่ข้อเสียคือสารพวกนี้เอง บางชนิด ก็เป็นพิษเช่นกัน
10. การใช้เห็ด
งานวิจัยของ ดร.พอล สเตเม็ทส์ ชี้ว่า เห็ดบางชนิดสามารถใช้ทำ ความสะอาดดินที่ปนเปื้อนน้ำมันดิบได้ดี เพราะเห็ดจะหลั่งกรดและเอนไซม์ หลายชนิดออกมาย่อยน้ำมันดิบที่ปนเปื้อนจนได้สารประกอบที่ไม่เป็นพิษในที่สุด
การต่อสู้กับปัญหานี้โดยการขจัดคราบน้ำมันให้หมดไป เป็นเรื่องทางเทคนิคที่ ต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยล้วนๆ ครับ จะเห็นได้ว่า ได้มีการใช้ สารเคมีฉีดลงไปเพื่อทำให้คราบน้ำมันดิบแตกตัวมีขนาดโมเลกุลเล็กลง และอาศัยเวลา หรือแบคทีเรียในธรรมชาติย่อยสลายไปในที่สุด มีข้อเสนอวิธีการบำบัดเข้ามามากมาย ทั้งการใช้เส้นผมคนเราใส่ถุงน่องแล้วไปผูกต่อกันเป็นแนวทุ่นเพื่อซับคราบน้ำมัน (แม้ เส้นผมจะดูดซับได้ แต่ก็ต้องใช้จำนวนมาก ซึ่งอาจไม่ทันการณ์ ดูแล้วจึงเป็นวิธีที่ ไม่น่าจะเหมาะที่จะต่อสู้กับคราบน้ำมันในทะเลที่กระจายตัวออกไปเป็นบริเวณพื้นที่ กว้างครับ) การใช้แผ่นดูดซับคราบน้ำมัน การใช้จุลินทรีย์ย่อยสลายคราบน้ำมัน กระทั่ง วิธีพื้นฐานที่สุดคือใช้แรงงานคนในการตักคราบน้ำมันที่ลอยเข้าหาฝั่งและที่ติดบนพื้น ทรายใส่ภาชนะแล้วนำไปกำจัด ต่อไป
ที่มา https://oer.learn.in.th, https://guru.sanook.com/, https://www.springnews.co.th/